วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงงาน



ชื่อโครงงาน กำแพงเมืองสงขลา
ความเป็นมาของโครงงาน
เนื่องจากกำแพลงเมืองสงขลาเป็นสถานที่เก่าแก่และเป็นประวัติศาสตร์ของชาวเมืองสงขลาแต่ชาวสงขลาในสมัยนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลามากนัก
กำแพงเมืองสงขลา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ทางกรุงเทพฯ ได้มีท้องตราลงมาให้ก่อกำแพงและป้อม โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ช่างก่อกำแพงยังไม่ทันแล้วเสร็จหัวเมืองมลายูเป็นกบฎ (พ.ศ.2381) ยกทัพมาเผาเมืองจะนะแล้วเลยเข้าตีเมืองสงขลา พระยาววิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) รักษาเมืองไว้ จนทัพหลวงจากรุงเทพฯ ยกลงมาช่วยตีทัพกบฎมลายูแตกกลับไป แล้วช่วยก่อกำแพงเมืองสงขลาจนสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2385
กำแพงเมืองสงขลาก่อด้วยอิฐสอปูน มีเชิงเทินใบเสมาเป็นรูปป้อม กำแพงทิศเหนืออยู่ริมตามแนวถนนจะนะจดกำแพงด้านตะวันตกตรงถนนนครใน และจดกำแพงด้านตะวันออกตรงถนนปละท่า ด้านตะวันออกอยู่ตามริมแนวถนนรามวิถี จดกำแพงด้านทิศใต้ที่ถนนกำแพงเพชร(วัดหัวป้อม) ด้านทิศใต้ตามแนวถนนกำแพงเพชรจดกำแพงด้านตะวันตกที่ถนนนครนอกและกำแพงด้านตะวันตกเลียบถนนนครนอกถึงคลองขวางเลียบแนวคลองขวางขึ้นไปถึงนครในแล้วเลาะแนวถนนนครในไปจดกำแพงด้านทิศเหนือสมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดชทรงนิพนธ์ไว้ในเรื่อง ชีวิวัฒน์ว่า “กำแพงเมืองไกลจากประมาณ 20 วา”
กำแพงเมืองสงขลามีป้อม 8 ป้อมแต่ละป้อมมีปืนใหญ่กระสุน 4 นิ้ว ป้อมละ 3-4 กระบอกประตูเมืองเป็นซุ่มใหญ่ 10 ประตูกับมีประตูเล็กอีก 10 ประตูโดยรอบบัดนี้ยังคงเหลือแต่กำแพงด้านถนนจะนะ ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา(เรือนจำเก่า) กับที่ถนนนครในเท่านั้น

กลุ่มของข้าพเจ้าจงต้องการเผยแร่ความรู้เกี่ยวกับกำแพลงเมืองสงขลาให้ชาวสงขลาและผู้คนที่อื่นได้ทราบกัน


วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลา
2. เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลา
3. เพื่อฝึกกระบวนการการทำโครงงาน
4. เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานของจังหวัดสงขลา

ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ประชุมเลือกหัวข้อเรื่อง
- แบ่งงานให้แต่ละคน
- หาข้อมูล
- ลงพื้นที่จริง
- จากแหล่งเรียนรู้
- รวบรวมข้อมูล

ผลการศึกษา
ผลจากการศึกษาทำให้เราทราบดังนี้
ตั้งอยู่ที่ถนนจะนะตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นกำแพงก่อด้วยหิน มีเชิงเทินมีใบเสามาเป็นรูปป้อม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระราชทานยกเงินภาษีอากรเมืองสงขลาให้ 200 ชั่ง (16,000 บาท) ได้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2379 แต่ไม่เสร็จเรียบร้อยเนื่องจากในปีนั้นพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเล้ง ณ สงขลา) ต้องพาพระยาตานี พระยายะหริ่ง พระยาสายบุรี พระยาระแงะ พระยารามัน เข้าไปเฝ้าในงานถวายพระเพลิงศพ สมเด็จพระพันปีหลวง และในปี พ.ศ. 2381 ตนกูหมัดสาอัด หลานเจ้าพระยาไทรบุรียกกองทัพไปตีเมืองไทรบุรีได้ ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระยาวิเชียรคีรีกลับออกมาปราบปราม จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีพัฒน์ เป็นแม่ทัพใหญ่ลงมาช่วยเมื่อปราบกบฏราบคาบแล้ว กองทัพหลวงได้ช่วยก่อกำแพงเมืองจนแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2385กำแพงเมืองสงขลาด้านทิศเหนือ อยู่ริมถนนจะนะ ติดกับถนนนครในไปถึงถนนจะนะ ติดกับถนนปละท่า กำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกอยู่ริมถนนรามวิถีติดกับถนนปละท่าไปถึงถนนรามวิถีติดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนกำแพงเพชรติดกับถนนนครนอก กำแพงเมืองด้านทิศใต้ตะวันตกอยู่ริมถนนนครนอกตัดกับถนนกำแพงเพชรไปถึงถนนนครนอกติดกับคลองขวาง ไปตามแนวถนนนครในจนติดกับถนนจะนะ มีประตูเมือง 10 ประตู ประตูเป็นซุ้มใหญ่โดยรอบกว้าง 3 เมตร (6ศอก) สูง 6 เมตร (4 วา) ซุ้มประตูเป็นหลังคาจีน ทำนองเป็นหอรบ บานประตูเป็นบานสัก ประตูเหล่านี้มีชื่อต่ไปนี้คือ พุทธรักษา สุรามฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ พิทักษ์ อัคคีวุธ ชัยยุทธ์ ชำนะ บูรพาภิบาลกำแพงเมืองดังกล่าวน่าเสียดายที่ถูกรื้อจนหมดสภาพไป คงเหลือบางส่วนที่ถนนจะนะถนนนครในเท่านั้น ส่วนใหญ่รื้อสมัยพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ระหว่างรับราขการเป็นพระยาวิชิตวรสาสน์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลาและเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2437 ? พ.ศ. 2448 เพื่อขยายเป็นถนนและปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นต่อมากำแพงเมืองสงขลาและป้อมเมืองสงขลาได้ถูกรื้ออีก เพื่อทำเป็นชุมสายโทรศัพท์สงขลา เมื่อ พ.ศ. 2484 ในการรื้อครั้งนี้ได้พบศิลาจารึกทีมุมกำแพงเมืองทิศเหนือและทิศตะวันตกด้วย เป็นจารึกรูปยันต์เกี่ยวกับซากเมืองสงขลา ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา

ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา
1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลา
2. ได้เผยแพร่เกี่ยวกับกำแพงเมืองสงขลา
3. ได้ฝึกกระบวนการการทำโครงงาน
4. ได้อนุรักษ์โบราณสถานของจังหวัดสงขลา
5. ได้ความสามัคคีของสมาชิกในกลุ่ม


ความรู้สึกที่มีต่อโครงงาน
รู้สึกว่าเป็นโครงงานที่มีประโยชน์มากๆเพราะทำให้เราได้ร้ประวัติถิ่นฐานบ้านเกิดของตนทั้งอดีตและปัจจุบัน ความเป็นมาเป็นไปของเมืองสงขลาและได้รู้ประวัติของแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ


การนำเสนอ BLOG


แหล่งอ้างอิง
- กำแพงเมืองสงขลา
- http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=540.0
บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย



ด้านการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหา กษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึก ร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมากพระ ราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม





ด้านเศรษฐกิจการ พัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติ ส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรม เพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น





ด้านสังคมและวัฒนธรรม พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความ เจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนา ชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น





ด้านการต่างประเทศพระ มหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความ เข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553



การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย พ.ศ. 2475



ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6
อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
1.สภาพการณ์ทางสังคม
สังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรมราชาภิเษก เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวันตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก
อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บางส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัยใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจากประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่วไป

2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ
ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทน
สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444
สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอนรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

3.สภาพการณ์ทางการเมือง
สภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้าสู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่งพระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรงปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วย
สมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูปมณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตก
สมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล” นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวมมณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วย
นอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีวางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้
อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่อย่างใด

สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น

2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย
อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น

3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนินของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน

4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด

5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา
การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ
พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ


การยึดอำนาจการปกครอง
1.วิธีการดำเนินงาน
กลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้ริเริ่มความคิดที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งแรกหรือที่เรียกว่า “คณะผู้ก่อการ นั้นมี 7 คน ที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ ร.ท.แปลก ขีตตะวังคะ ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี เป็นต้น
คณะบุคคลทั้ง 7 คนได้เริ่มเปิดประชุมอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2469 ที่พักแห่งหนึ่งในถนน รู เดอ ซอมเมอรารด์ ณ กรุงปารีส การประชุมครั้งนั้นดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นประธานที่ประชุม และที่ประชุมตกลงดำเนินการจัดตั้งคณะผู้ก่อการขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมในการดำเนินงานต่อไป โดยที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ จนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการต่อไป ที่ประชุมได้ตกลงในหลักการที่จะทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้กฎหมายหรือที่เรียกกันว่า ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ คณะผู้ก่อการได้กำหนดหลักการในการปกครองประเทศไว้ 6 ประการ
1) รักษาความเป็นเอกราชของชาติในทุกๆด้าน เช่น เอกราชทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางการศาล ฯลฯ ให้มีความมั่นคง
2) รักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้มีการประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลง
3) บำรุงความสุขของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทำทุกคน โดยจะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติและไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4) ให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคทัดเทียมกัน
5) ให้ราษฎรมีเสรีภาพที่ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น
6) ให้การศึกษาแก่ราษฎรทุกคนอย่างเต็มที่
ภายหลังจากเสร็จการประชุมในครั้งนั้นแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายแล้ว ได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย ทางสมาชิกที่อยุ่ในกรุงปารีสจึงได้เลือกเฟ้นผู้ที่สมควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป และได้สมาชิกเพิ่มในคณะผู้ก่อการอีก 8 คน ที่สำคัญ คือ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) ร.อ.สินธุ์ กมลนาวิน เป็นต้น
ภายหลังเมื่อบรรดาสมาชิกของคณะผู้ก่อการที่กรุงปารีสกลับคืนสู่ประเทศไทยแล้ว ก็ได้มีการชักชวนบุคคลที่มีความเห็นร่วมกันเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะผู้ก่อการอีกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2474 จึงได้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ ดังนั้นสมาชิกคณะผู้ก่อการฝ่ายทหารที่สำคัญ ได้แก่ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม น.ต.หลวงสินธุ์สงครามชัย ฯลฯ สำหรับสมาชิกคณะผู้ก่อการหัวหน้าฝ่ายพลเรือนที่สำคัญคือ นายปรีดี พนมยงค์ นายทวี บุญยเกตุ นายควง อภัยวงค์ เป็นต้น
คณะผู้ก่อการได้วางแผนเปลี่ยนแปลงการปกครองดำเนินไปอย่างละมุนละม่อมและหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อให้มากที่สุด โดยมีแผนจับกุมผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเอาไว้ก่อน ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นอกจากนี้ยังมีแผนการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่นๆ รวมทั้งเสนาบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างๆ และผู้บังคับบัญชาทหารที่สำคัญๆ อีกหลายคนด้วยกัน เพื่อเป็นข้อต่อรองให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย

2.ขั้นตอนการยึดอำนาจ
คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม
สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน
คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ
หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย


การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
การที่คณะราษฎรภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นผลสำเร็จ โดยมิต้องสูญเสียเลือดเนื้อแต่ประการใดนั้น เป็นเพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่รงยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมิได้ทรงต่อต้านเพื่อคิดตอบโต้คณะราษฎรด้วยการใช้กำลังทหารที่มีอยู่แต่ประการใด และทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรได้เตรียมร่างเอาไว้ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย นอกจากนี้พระองค์ก็ทรงมีพระราชประสงค์มาแต่เดิมแล้วว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศแก่ประชาชนอยู่แล้ว จึงเป็นการสอดคล้องกับแผนการของคณะราษฎร ประกอบกับพระองค์ทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสุขของประชาชนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่าการดำรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจของพระองค์
รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมี 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475
ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าอยู่เจ้า เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน กลับคืนสู่พระนครแล้ว คณะราษฎรได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งนายปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎรบางคนได้ร่างเตรียมไว้ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงพระปรมาภิไธย พระองค์ได้พระราชทานกลับคืนมาเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475 และได้มีพิธีเปิดสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้มีชื่อเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”
รัฐธรรมนูญชั่วคราวนี้กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในแผ่นดินประกอบด้วย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งแต่เดิมเป็นของพระมหากษัตริย์ จึงได้เปลี่ยนเป็นของปวงชนชาวไทยตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยเกี่ยวกับการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้กำหนดแบ่งระยะเวลาออกเป็น 3 สมัยคือ
1) สมัยที่ 1 นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่ 2 จะเข้ารับตำแหน่ง ให้คณะราษฎรซึ่งมีผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน และจัดตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้นเป็นจำนวน 70 นาย เป็นสมาชิกในสภา
2) สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าจะจัดประเทศเป็นปกติเรียบร้อย สมาชิกในสภาจะต้องมีบุคคล 2 ประเภท ทำกิจกรรมร่วมกัน คือ ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ผู้แทนราษฎรซึ่งราษฎรได้เลือกขึ้นมาจังหวัดละ 1 นาย ต่อราษฎรจำนวน 100,000 คน ประเภทที่สอง ผู้เป็นสมาชิกอยู่ในสมัยที่หนึ่งมีจำนวนเท่ากับสมาชิกประเภทที่หนึ่ง ถ้าจำนวนเกินให้เลือกกันเองว่าผู้ใดจะยังเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าจำนวนขาดให้ผู้ที่มีตัวอยู่เลือกบุคคลใดๆเขาแทนจนครบ
3) สมัยที่ 3 เมื่อจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรได้สอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจำนวน กว่าครึ่ง และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกในสภาผู้แทนราษฎรจะเป็นผู้ที่ราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้น ส่วนสมาชิกประเภทที่สองเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย ซึ่งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารจะเป็นผู้จัดตั้งขึ้นในระยะแรกนั้น ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ซึ่งมีความปรารถนาจะช่วยบ้านเมือง และกลุ่มกบฏ ร.ศ.130 บางคน ซึ่งสมาชิกทั้ง 70 คน ภายหลังจากการได้รับการแต่งตั้งแล้ว 6 เดือน ก็จะมีฐานะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
ทางด้านอำนาจบริหารนั้นในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ซึ่งตำแหน่งบริหารที่สำคัญเอาไว้คือ ประธานคณะกรรมการราษฎร (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่สามารถประสานความเข้าใจระหว่างคณะราษฎรกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดี และเพื่อความราบรื่นในการบริหารประเทศต่อไป คณะราษฎรจึงตกลงเห็นชอบที่จะให้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร
คณะกรรมการราษฎร (คณะรัฐมนตรี) ในรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งเป็นคณะรัฐมนตรีชุดแรกที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 มีจำนวนทั้งสิ้น 15 นาย เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน

2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475
ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศสืบไป ในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2475 และสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับรองให้ใช้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2475 โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม 2475 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1.อำนาจนิติบัญญัติ กำหนดให้มีสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือกตั้ง แต่มีบทเฉพาะกาลกำหนดไว้ว่า ถ้าราษฎรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ยังมีการศึกษาไม่จบชั้นประถมศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด และอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท มีจำนวนเท่ากันคือ สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งสขึ้นมาตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนสมาชิกประเภทที่ 2 ได้แก่ ผู้ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร ในระหว่างที่ใช้บทบัญญัติเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
2.อำนาจบริหาร พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 นาย และรัฐมนตรีอีกอย่างน้อย 14 นาย อย่างมาก 24 นาย และในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ กล่าวโดยสรุปในภาพรวมของรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองการปกครองและสังคมไทยดังนี้คือ
2.1 อำนาจการปกครองของแผ่นดินซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของพระมหากษัตริย์ก็ตกเป็นของปวงชนชาวไทยตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์จะทรงใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง คือ อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี อำนาจตุลาการผ่านทางผู้พิพากษา (ศาล)
2.2 ประชาชนจะได้รับสิทธิในทางการเมือง โดยการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ควบคุมการบริหารงานของรัฐบาล ออกกฎหมายและเป็นปากเสียงแทนราษฎร
2.3 ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น สามารถแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆได้ ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย และคนทุกคนมีความเสมอภาคภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน
2.4 ในระยะแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ อำนาจบริหารประเทศจะต้องตกอยู่ภายใต้การชี้นำของคณะราษฎร ซึ่งถือว่าเห็นตัวแทนของราษฎรทั้งมวลในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย ประชาชนจึงจะมีสิทธิในอำนาจอธิปไตยอย่างเต็มที่


ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแหลงการปกครอง พ.ศ. 2475
1.ผลกระทบทางด้านการเมือง
การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง พระองค์จึงทรงใช้ความพยายามที่จะขอให้ราษฎรได้ดำเนินการปกครองประเทศด้วยหลักการแห่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่พระองค์ก็มิได้รับการสนองตอบจากรัฐบาลของคณะราษฎรแต่ประการใด จนกระทั่งภายหลังพระองค์ต้องทรงประกาศสละราชสมบัติใน พ.ศ.2477
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยังก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ทั้งนี้เป็นเพราะยังมีผู้เห็นว่าการที่คณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีพระมหากษัตรยิ์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ยังมิได้เป็นไปตามคำแถลงที่ให้ไว้กับประชาชน
นอกจากนี้การที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการข้อ 3 ในอุดมการณ์ 6 ประการของคณะราษฎรที่ได้ประกาศไว้เมื่อครั้งกระทำการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น ปรากฏว่าหลายฝ่ายมองว่าเค้าโครงการเศรษฐกิจมีลักษณะโน้มเอียงไปในทางหลักเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสิ้นสุดลงแล้วไม่นาน
พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เห็นว่าการบริหารประเทศท่ามกลางความขัดแย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจไม่สามารถจะดำเนินต่อไปได้ จึงประกาศปิดสภาและงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา อันส่งผลให้ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา นำกำลังทหารยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดาในวันที่ 20 มิถุนายน 2476 และหลังจากนั้น พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินสืบไป
เมื่อรัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้าบริหารประเทศได้ไม่นาน ก็มีบุคคลคณะหนึ่งซึ่งเรียกตนเองว่า คณะกู้บ้านกู้เมือง นำโดยพลเอกพระองค์เจ้าบวรเดช ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลในเดือนตุลาคม 2476 โดยอ้างว่ารัฐบาลได้ทำการหมิ่นประมาทองค์พระประมุขของชาติ และรับนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นร่างเค้าโครงเศรษฐกิจอันอื้อฉาวเข้าร่วมในคณะรัฐบาล พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ในที่สุดรัฐบาลก็สามารถปราบรัฐประหารของคณะกู้บ้านกู้เมืองได้สำเร็จ
หลังจากนั้นก็มีการจับกุมและกวาดล้างผู้ต้องสงสัยว่าจะร่วมมือกับคณะกู้บ้านกู้เมืองจนดูเหมือนว่าประเทศไทยมิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระยะนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นความขัดแย้งสืบต่อกันมาในยุคหลัง
ปัญหาการเมืองดังกล่าว ได้กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สถาบันทางการเมืองในยุคหลังๆ ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการพัฒนาการทางการเมืองมิได้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างธรรมเนียมการปกครองที่ไม่ถูกต้องให้กับนักการเมืองและนักการทหารในยุคหลังต่อๆมา ซึ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องประสบกับความล้มเหลวเพราะการใช้กำลังบีบบังคับอยู่เป็นประจำถึงปัจจุบัน


2.ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้เป็นเพราะความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่คณะราษฎรได้มอบหมายให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นคนร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจเพื่อนำเสนอนั้น มิได้รับการยอมรับจากคณะราษฎรส่วนใหญ่ ดังนั้นระบบเศรษฐกิจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังคงเป็นแบบทุนนิยมเช่นเดิม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังคงเน้นที่การเกษตรกรรมมากว่าอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจากประเทศตะวันตกส่วนใหญ่ที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจก็พอจะมีอยู่บ้าง ถึงแม้จะไม่เด่นชัดเท่ากับผลกระทบทางการเมืองก็ตาม จากการที่คณะราษฎรผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองตกลงกันได้แต่เพียงว่าจะเลิกล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ไม่สามารถจะตกลงอะไรได้มากกว่านั้น กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจจึงต้องต่อสู้กันต่อไป เพื่อบีบบังคับให้ระบบเศรษฐกิจและการเมืองเป็นไปตามที่ตนต้องการ นอกจากนี้กลุ่มผลประโยชน์ที่ครอบครองที่ดินและทุนอันเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ก็รวมตัวกันต่อต้านกระแสความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ที่ดินและเงินทุนจากของบุคคลเป็นระบบสหกรณ์

3.ผลกระทบทางด้านสังคม
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สังคมไทยได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น
เนื่องจากที่คณะราษฎรมีนโยบายส่งเสริมการศึกษาของราษฎรอย่างเต็มที่ ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎรข้อที่ 6 ดังนั้น รัฐบาลจึงได้โอนโรงเรียนประชาบาลที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นให้เทศบาลเหล่านั้นรับไปจัดการศึกษาเอง เท่าที่เทศบาลเหล่านั้นจะสามารถรับโอนไปจากกระทรวงธรรมการได้ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ มีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงการศึกษาของบุตรหลานของตนเอง นอกจากนั้นรัฐบาลได้กระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร มีสภาเทศบาลคอยควบคุมกิจการบริหารของเทศบาลเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีเทศมนตรีเป็นผู้บริหารตามหน้าที่
พ.ศ.2479 รัฐบาลของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2479 โดยกำหนดแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเภท คือ สายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นการเน้นความสำคัญของอาชีวศึกษาอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดความมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบการศึกษาในสายสามัญแตะละประโยคแต่ละระดับการศึกษา ได้เรียนวิชาอาชีพเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากเรียนวิชาสามัญ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่จะออกไปประกอบอาชีพต่อไป
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 จึงได้นำไปสู่การปรับปรุงให้ราษฎรได้รับการศึกษา และสามารถใช้วิชาการความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ประกอบอาชีพต่อไปอย่างมั่นคงและมีความสุข
การเปลี่ยนแปลงการปกครองทำให้ชนชั้นเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าถูกลิดรอนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น พระมหากษัตริย์จะได้รับเงินจากงบประมาณเพียงปีละ 1-2 ล้านบาท จากเดิมเคยได้ประมาณปีละ 2-10 ล้านบาท เงินปีของพระบรมวงศานุวงศ์ถูกลดลงตามส่วน ขุนนางเดิมถูกปลดออกจากราชการโดยรับเพียงบำนาญ และเจ้านายบางพระองค์ถูกเรียกทรัพย์สินสมบัติคืนเป็นของแผ่นดิน
พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม





1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- สมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้

ก. การปฏิรูปการปกครอง
1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)


สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก
ข. ตั้งสภาที่ปรึกษา
รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ
1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป
ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย
การเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน


- สมัยรัชกาลที่ 6
1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน
2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต
3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง



สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การเศรษฐกิจ
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ
2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้
2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง
2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา
2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ
สนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนดเวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ

3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น
4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา

สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน
2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้างที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน
5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล
6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)
7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ


- สมัยรัชกาลที่ 6

1.ตั้งธนาคารออมสิน
2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์
3.ตั้งกรมสรรพากรและกรมตรวจเงินแผ่นดิน
ในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุการเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1



- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1
2.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้
2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก
2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม
2.3 ปลดข้าราชการ
เป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าจ่าย
ใช้


2. การสังคมและวัฒนธรรม
- สมัยรัชกาลที่ 4
1. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา
2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่
ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า
ข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วย
ค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวก
ง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)



- สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ
3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์
4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม
6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่
7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว
8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก
- สมัยรัชกาลที่ 6
1. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง
2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง
3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล
4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก
5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์
6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลั





- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้วิวัฒนาการมาสอดคล้อง กับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยนั้น ๆ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ
สาระการเรียนรู้
1. พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย
- การปกครองของไทยแต่เดิม
- การปกครองสมัยสุโขทัย
- การปกครองสมัยอยุธยา
- การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
2. การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน
- การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
- ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 (ตราไว้ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 เล่มที่ 47 ก)
- สรุปสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงประชามติแบบเรียงหมวด
- ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
3. การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ
- สถาบันการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

การปกครองของไทยแต่เดิม มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่น ๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความคุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้องอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน แผ่นดินเป็นหลักและความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่ม และหมู่ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูงจีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋" "ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติ ดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม ได้คือ ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ
1. ฮินสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงมหาดไทย
2. โม่วสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงกลาโหม
3. ม่านสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการคลัง
4. ยันสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ
5. หว่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงพาณิชย์
6. ฝัดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงยุติธรรม
7. ฮิดสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ
8. จุ้งสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงสำมะโนครัว
9. ฉื่อสอง เทียบกับปัจจุบันได้แก่ กระทรวงวังหรือราชประเพณี
การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้ากรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับ
ส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑลแต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่ เจ้าหัวเมืองเอก เจ้าหัวเมืองโท เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็นแขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวงเป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้า จากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปกครองดังกล่าวนี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก


อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็นและภูเขาพนมดงรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้น ของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ หรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่า มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น
สำหรับการปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประเทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็นเมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมือง รวมกันเป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่า ลูกขุน
วิธีการปกครองของไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมาจนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่าปกครองแบบ พ่อปกครองลูก นี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่า พ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่า พระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองสมัยสุโขทัยระยะแรก เป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเหมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ที่สุด ทรงปกครองดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดเหมือนพ่อปกครองลูก โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ใดมีเรื่องเดือดร้อนก็สามารถเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ต่อพ่อขุนได้โดยตรง ดังข้อความในจารึกหลักที่ 1 ความว่า
"ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้นั้น
ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง
มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ
มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้
ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน
เรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยซื่อ
ไพร่ในเมืองสุโขทัยจึงชม"
รูปแบบของการปกครองในสมัยสุโขทัยตอนปลายเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเจน ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) โดยพระพุทธศาสนาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในด้านการปกครอง ผู้ปกครองได้นำหลักธรรมทางศาสนามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรียกว่า ธรรมราชา หรือ ธรรมในการปกครอง
การปกครองราชธานีและหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น
1. เมืองหลวงหรือราชธานี อาณาจักรสุโขทัยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองหลวงหรือราชธานีเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองดูแลเอง
2. หัวเมืองชั้นใน หรือเมืองลูกหลวง ตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ หัวเมืองชั้นในพ่อขุนจะแต่งตั้งพระญาติวงศ์ใกล้ชิดไปปกครอง
3. หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร ผู้ปกครองเมืองได้แก่ เจ้านายหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่พ่อขุนโปรดเกล้าฯ ให้ไปปกครองเมืองนั้น ๆ
4. เมืองประเทศราช เมืองที่อยู่นอกอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติ พ่อขุนจะกำหนดให้เจ้านายของเมืองนั้น ๆ ปกครองกันเอง แต่ต้องถวายเครื่องราชบรรณาการต่อพระเจ้ากรุงสุโขทัยตามกำหนด



การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดาทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด ถ้าได้พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่า ถ้าผู้ปกครองประเทศคือพระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับสภาวการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ


กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฏว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฏ กรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)
ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติหรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตอยู่ 3 ประการ คือ
1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ
2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ
3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียว
ระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์ การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดู ราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"
ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดีย ส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมืองต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้นถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนารายณ์แบ่งภาคมาเลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนายปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือน
ต่อมาในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงได้ปรับปรุงระบอบการปกครองใหม่ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครองเรียกการปกครองแบบนี้ว่า การจัดระเบียบการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าราชธานีมีวงเขตแคบลงทั้งนี้ก็ด้วยมีความประสงค์ให้หัวเมืองชั้นในติดต่อกับราชธานีได้โดยสะดวก ส่วนหัวเมืองชั้นนอกอันเป็นเมืองพระยามหานครนั้นอยู่ห่างไกลออกไปจากราชธานี เมื่อการคมนาคมยังไม่เจริญ ก็ย่อมติดต่อกับราชธานีได้โดยมากราชการบริหารส่วนกลางไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างใกล้ชิด เมืองพระยามหานคร จึงเกือบไม่ขึ้นต่อราชการบริหารส่วนกลางเลย เจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเหล่านั้นเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์และได้รับการมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์ ทั้งในทางการปกครอง และในทางตุลาการ
เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วก็มีอำนาจที่จะปกครองเมืองได้อย่างเต็มที่ เกือบไม่ต้องขึ้นหรือคอยรับคำสั่งจากราชธานีด้วยเหตุนี้เมื่อพระมหากษัตริย์ใดทรงมีอานุภาพก็รักษาเอกภาพแห่งพระราชอาณาจักรไว้ได้อย่างเรียบร้อย แต่ถ้าพระมหากษัตริย์องค์ใดหย่อนอานุภาพลง เจ้าเมืองมักจะคิดตั้งตนเป็นอิสระทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาณาจักรไม่มั่นคง เหตุดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากราชการส่วนกลาง และราชการปกครองส่วนภูมิภาคไม่มีความสัมพันธ์กันเพียงพอ
รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งได้ทรงปรับปรุงรูปแบบการปกครองขึ้นใหม่ โดยแยกการบริหารราชการออกเป็นฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร สำหรับฝ่ายพลเรือนรับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการทางด้านเวียง วัง คลัง นา มีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนกิจการเกี่ยวกับทหารและการป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้าและกรมทหารราบ มีสมุหกลาโหมเป็นผู้รับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จึงมีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของการจัดการปกครองประเทศการปกครองได้เป็นไปในทางเสริมสร้างสมบูรณาญาสิทธิราชเต็มที่ เพราะได้พวกพราหมณ์และพวกเจ้านาย ท้าวพระยามาจากกรุงกัมพูชา ซึ่งมีความชำนาญทางการปกครองอย่างถ้วนถี่ดีกว่าที่เคยรู้มาแต่ก่อนไว้
ดังนั้นแนวความคิดเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์และสถาบันแห่งพระองค์ ก็คงจะต้องเข้มงวดกวดขันยิ่งกว่าแต่กาลก่อน คือถือว่าเป็นสมมติเทวราชเต็มรูปแบบสำหรับการปรับปรุงแก้ไขการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค อันเป็นผลของการปฏิรูปดังกล่าวนั้นก็คือได้มีการขยายเขตราชธานี และหัวเมืองชั้นในออกไปให้กว้างกว่าเดิม เพื่อที่จะได้รวมอำนาจการปกครองเข้าไว้ในส่วนกลางให้ราชการบริหารส่วนกลาง สามารถควบคุมส่วนภูมิภาคได้ดียิ่งขึ้นและจัดหัวเมืองชั้นในอยู่ในวงของราชธานีเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา ส่วนหัวเมืองชั้นในพระมหากษัตริย์ทรงอำนวยการปกครองโดยมีเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ฉะนั้นผู้ปกครองหัวเมืองชั้นในหรือเมืองชั้นจัตวาจึงเรียกว่า "ผู้รั้ง"ไม่ใช่เจ้าเมืองและได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งชั่วเวลา 3 ปี ส่วนกรมการอันเป็นพนักงานปกครองก็ขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้ากระทรวงต่างๆ ในราชธานี
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคปลีกย่อยออกไปอีก ซึ่งได้แก่การจัดระเบียบการปกครองภายในเมืองหนึ่งๆทั้งหัวเมืองชั้นนอกและชั้นใน หรือเรียกว่า ระเบียบการปกครองท้องที่ โดยแบ่งเมืองออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล ตำบล แบ่งออกเป็นบ้าน ซึ่งเป็นที่รวมของหลาย ๆ ครัวเรือนแต่มิได้กำหนดจำนวนคน หรือจำนวนบ้านไว้การแบ่งเขตการปกครองตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นว่าไม่มีรูปร่างผิดแปลกไปกับการปกครองสมัยปัจจุบันมาก นักกฎหมายปกครองท้องที่ตราขึ้น ในสมัยหลังได้ร่างขึ้นโดยอาศัยรูปการปกครอง ซึ่งมีอยู่แต่เดิมเป็นหลักใหญ่และได้แก้ไขดัดแปลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น

การปกครองระบบเทวสิทธิ์นี้ ถ้าจะพิจารณาถึงผลสะท้อนที่เกิดกับการบริหารแล้ว จะเห็นได้ว่าประเทศไทยในสมัยนั้น เมื่อมีการสถาปนาประเทศเข้าสู่เสถียรภาพ ข้อเสียของระบบเทวสิทธิ์ก็ปรากฏขึ้นเช่นชนฝ่ายปกครองหรือกษัตริย์ถูกแยกห่างออกจากฝ่ายถูกปกครองคือประชาชนมากเกินไปจนกลายเป็นชนชั้นหนึ่งอีกต่างหาก ซึ่งแตกต่างจากการปกครองระบบบิดาและบุตรมาก ประกอบกับชนชั้นปกครองระดับรองลงมา อันได้แก่ มูลนายต่าง ๆ ช่องทางการใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต เกิดการกดขี่ทารุณและคดโกงขึ้น ตำแหน่งพระมหากษัตริย์กลายเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจและอภิสิทธิ์ยิ่งใหญ่ เป็นสิ่งพึงปรารถนาในทางโลก ผู้ใดยึดครองตำแหน่งย่อมได้มาทั้งอำนาจและอภิสิทธิ์ต่างๆ ดุจเทพเจ้า
ฉะนั้นตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการปกครองใต้ระบบเทวสิทธิ์ ได้มีการช่วงชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งทำให้เป็นมูลเหตุไปสู่ความอ่อนแอ และต้องสูญเสียเอกราชให้แก่ข้าศึกไปถึงสองครั้งสองครา ซึ่งประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยาจะยืนยันข้อความจริงดังกล่าวได้ดี เหตุการณ์เช่นนี้มิได้มีปรากฏในสมัยสุโขทัย ซึ่งถือการปกครองระบบบิดากับบุตร เพราะตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงเสมือนตำแหน่งหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น เมื่อคนที่ได้เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าสิ้นไป คนใหม่ที่มีอาวุโสรองลงไปจะเข้ารับหน้าที่แทน มิได้ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษเปี่ยมด้วยอภิสิทธิ์ดังระบบเทวสิทธิ์



มูลเหตุการปรับปรุงการปกครอง
นายวรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิดโอกาสให้ค่านิยมของตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสยามประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาสก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อนล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนาในแง่เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฎหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติ และชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามีความป่าเถื่อน ล้าหลัง

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางได้จัดแบ่งหน่วยงานออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางซึ่งมีมาแต่เดิมนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มหาดไทย กลาโหม เมือง วัง คลัง นาอันได้ใช้เป็นระเบียบปกครองประเทศไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เหตุแห่งการปฏิรูปการปกครอง และระเบียบราชการส่วนกลางในรัชการนี้ ก็เนื่องจากองค์การแห่งการบริการส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติราชการให้ได้ผลดีและความเจริญของประเทศและจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นข้าราชการเพิ่มขึ้น แต่องค์การแห่งราชการบริหารส่วนกลางยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เพียงพอต่อความต้องการด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นโดยได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ และผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ขึ้นโดยได้จัดสรรให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ดังนี้ คือ
1. กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราช (ในช่วงแรก) แต่ต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดที่มีให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย
2. กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช เมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้วกระทรวงกลาโหมจึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต
3. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ
4. กระทรวงวัง ว่าการในพระราชวัง
5. กระทรวงเมือง (นครบาล) การโปลิศและการบัญชีคน คือ กรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ
6. กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่
7. กระทรวงพระคลัง ดูแลเรื่องเงิน รายได้ รายจ่ายของแผ่นดิน
8. กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งเคยกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ นำมาไว้ที่แห่งเดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน
9. กระทรวงยุทธนาธิการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ
10. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอุปถัมภ์คณะสงฆ์
11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง การช่าง การไปรษณีย์โทรเลขการรถไฟ
12. กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง
เมื่อได้ประกาศปรับปรุงกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้เลิกอัครเสนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม กับตำแหน่งจตุสดมภ์ให้เสนาบดีทุกตำแหน่งเสมอกันและรวมกันเป็นที่ประชุมเสนาบดีสภา หรือเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา ต่อจากนั้นได้ยุบรวมกระทรวง และปรับปรุงใหม่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงต่างๆ ยังคงมีเหลืออยู่ 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการ-ต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ด้วยเหตุที่มีการรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองซึ่งเคยแยกกันอยู่ใน 3 กรม คือ มหาดไทยกลาโหมและกรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว การปฏิรูปหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคจึงมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐบาลกลางโดยส่วนรวมทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองแบบเมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราชเดิม เพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนแปลงแบบราชอาณาจักรโดยการจัดระเบียบการปกครองให้มีลักษณะลดหลั่นตามระดับสายการบังคับบัญชาหน่วยเหนือลงไปจนถึงหน่วยงานชั้นรอง ตามลำดับดังนี้
1.การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสภาพภูมิประเทศและความสะดวกแก่การปกครอง มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกสรรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามรถสูงและเป็นที่วางพระราชหฤทัยแต่งตั้งให้ไปบริหารราชการต่างพระเนตรพระกรรณ
2.การจัดรูปการปกครองเมือง มีการปกครองใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดหน่วยบริหารที่ชื่อว่า "เมือง" ใหม่โดยให้รวมท้องที่หลายอำเภอเป็นหัวเมืองหนึ่งและกำหนดให้มีพนักงานปกครองเมืองแต่ละเมือง ประกอบด้วยผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาเมือง และมีคณะกรรมการเมือง 2 คณะ คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ทรงเลือกสรร และโยกย้ายผู้ว่าราชการเมือง
3. การจัดการปกครองอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยบริหารราชการระดับถัดจากเมืองเป็นหน่วยปฏิบัติราชการหน่วยสุดท้ายของรัฐที่จะเป็นผู้บริการราชการในท้องที่ และให้บริการแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เป็นหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมท้องที่หลายตำบลเข้าด้วยกัน มีกรมการอำเภอซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอร่วมกันรับผิดชอบในราชการของอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้า ทั้งนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอ เป็นอำนาจของข้าหลวงเทศาภิบาลสำหรับตำแหน่งลำดับรองๆ ลงไปซึ่งได้แก่ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ และเสมียน พนักงาน ผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายหากท้องที่อำเภอใดกว้างขวางยากแก่การที่กรมการอำเภอจะไปตรวจตราให้ทั่วถึงได้และท้องที่นั้นยังมีผู้คนไม่มากพอที่จะยกฐานะเป็นอำเภอหรือกรณีที่ท้องที่ของอำเภอมีชุมชนที่อยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอก็ให้แบ่งท้องที่ออกเป็น กิ่งอำเภอเพื่อให้มีพนักงานปกครองดูแลได้แต่กิ่งอำเภอยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอและอยู่ในกำกับดูแลของกรรมการอำเภอ
4. การจัดรูปการปกครองตำบลหมู่บ้าน อำเภอแต่ละอำเภอมีการแบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นหลายตำบลและตำบลก็ยังซอยพื้นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองสุดท้ายที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดการปกครองระดับนี้มุ่งหมายที่จะให้ราษฎรในพื้นที่ เลือกสรรบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นธุระในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยเป็นทั้งตัวแทนประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน คือเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลืออำเภอ และเป็นตัวแทนของรัฐสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร์ ตลอดจนช่วยเก็บภาษีอากรบางอย่างให้รัฐ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นจากต่างประเทศมา
ดำเนินการโดยริเริ่มทดลองให้มีการจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯและการสุขาภิบาลหัวเมือง รายละเอียดดังนี้
1. การจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้จัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล ขึ้นในกรุงเทพ อันเป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสไปดู กิจการต่าง ๆในยุโรป และเนื่องจากเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลังยัคมินส์) ติเตียนว่ากรุงเทพฯสกปรกที่รักษาราชการทั่วไปของประเทศในขณะนั้นได้กราบทูลกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าชาวต่างประเทศ มักติเตียนว่ากรุงเทพฯ สกปรกไม่มีถนนหนทางสมควรแก่ฐานะเป็นเมืองหลวงพระองค์ จึงโปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นโดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ออกใช้บังคับการจัดการดำเนินงานเป็นหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล การบริหารกิจการในท้องที่ของสุขาภิบาลพระราชกำหนดได้กำหนดให้มีการประชุมปรึกษากันเป็นคราว ๆ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้รับหน้าที่ในด้านการอนามัยและการศึกษาขั้นต้นของราษฎร ได้ แบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ชนิด คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล โดยสุขาภิบาลแต่ละชนิดมีหน้าที่
1.รักษาความสะอาดในท้องที่
2.การป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่
3. การบำรุงและรักษาทางไปมาในท้องที่
4. การศึกษาขึ้นต้นของราษฎร
พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้ใช้อยู่จนกระทั่งหมดสมัยที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองของประเทศและสุขาภิบาลเริ่มประสบปัญหาต่างๆ จึงทำให้การทำงานของสุขาภิบาลหยุดชะงักและเฉื่อยลงตามลำดับ จวบจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 คณะราษฎรมุ่งหวังที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย จึงตราพระราชบัญญัติการจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อส่งเสริมให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลอย่างกว้างขวาง

การเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน


การเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบัน
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์
ทหารบก มีส่วนสำคัญในการก่อรัฐประหารครั้งนี้ มีริบบิ้นสีเหลืองผูกกระบอกปืน และมีผ้าพันคอสีเหลือง
รถถังจอดอยู่ที่กระทรวงกลาโหมในวันที่ 24 ก.ย. 2549
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 เป็นรัฐประหารครั้งที่ 10 ในประเทศไทย เกิดขึ้นในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งมี พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ โดยได้มีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี แล้วประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
รัฐประหารครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนตุลาคม หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ และนับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548
รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาจากนานาชาตินั้นมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์โดยต่างประเทศเช่นออสเตรเลีย การแสดงออกถึงความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนถึงการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และกล่าวว่าการก่อรัฐประหารนั้น "ไม่มีเหตุผลที่ยอมรับได้"
ภายหลังรัฐประหาร คปค. ได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑล แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2549 ซึ่งนับเป็นฉบับที่ 17
ชนวนที่นำมาสู่รัฐประหาร (คืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง โดยมีสถานการณ์รอบด้านหลายประการรุมเร้า พลเอก สนธิ บุญรัตกลิน เปิดเผยว่าได้ใช้เวลาประมาณ 7 เดือนในการเตรียมการก่อรัฐประหาร ซึ่งหมายความว่าเริ่มวางแผนในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นห้วงเวลาเดียวกับที่มีการเปิดตัวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อมธ.เปิดล่ารายชื่อ 50,000 ชื่อเพื่อถอดถอนนายกรัฐมนตรี การเข้าพบ พล.อ.สนธิ ของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เพื่อเรียกร้องให้ทหารออกมายืนข้างประชาชน การเสนอให้ใช้มาตรา 7 นายกฯ พระราชทาน และการประกาศยุบสภาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
พฤศจิกายน 2549 สองเดือนหลังจากรัฐประหาร คมช. ได้ออก "สมุดปกขาว" ชี้แจงสาเหตุของการก่อรัฐประหารยึดอำนาจโดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การทุจริตผลประโยชน์ทับซ้อน การใช้อำนาจในทางมิชอบ การละเมิดจริยธรรมคุณธรรมของผู้นำประเทศ การแทรกแซงระบบการตรวจสอบทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ ข้อผิดพลาดเชิงนโยบายที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพ และการบ่อนทำลายความสามัคคีของคนในชาติ
อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์จากหลายฝ่ายชี้ให้เห็นว่ายังมีสาเหตุอีกบางประการนอกเหนือจากเหตุผลของ คมช. ที่นำมาสู่รัฐประหาร เช่น ความขัดแย้งทางอำนาจที่เห็นได้จากการโยกย้ายนายทหารประจำปี รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับสถาบันกษัตริย์
ต่อมาได้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 โดยคณะกรรมมาธิการยกร่างและสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อจัดทำเสร็จได้ทำการพิมพ์เผยแพร่แจกให้กับประชาชนเพื่อประกอบการลงประชามติในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 ผลจากการลงประชามติปรากฏว่ามีผู้รับร่างรัฐธรรมนูญ 14,294,520 ล้านเสียง ไม่รับร่าง 10,419,912 ล้านเสียง นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงนามสนองพระบรมราชโองการและโปรดเกล้าให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทย หลังจากนั้นรัฐบาลได้ร่วมหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นควรให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม 2550
เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อยให้เร็วที่สุด บรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อเตรียมไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย มีการรวมพรรค มีการเฟ้นหาหัวหน้าพรรค มีการคัดหาผู้สมัคร ซึ่งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้กำหนดให้มี สส จำนวน 480 คน แยกเป็น 400 คนมาจากการเลือกตั้ง โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แบ่งเป็น 157 เขต มี สส 400 คน อีก 80 คน มาจากระบบสัดส่วน คือการแบ่งประเทศไทยออกเป็น 8 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมี สส ได้ 10 คน การได้มาของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจะมี 150 คน ได้มา 2 ทาง คือ ได้มาจากการเลือกของประชาชน 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และได้มาจากการสรรหาอีก 74 คน

วิธีการทางประวัติศาสตร์
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล/ไทย+การนับศักราช
การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์สากล
หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์ การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ไทย สามารถแบ่งช่วงในการศึกษาได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยประวัติศาสตร์ โดยการแบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัย ประวัติศาสตร์ ยึดถือเอาอายุของตัวอักษรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นเกณฑ์การแบ่ง สำหรับดินแดนประเทศ ไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจาก เมืองโบราณที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการ ศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้
1). สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจาก หลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่อง ประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามฝาผนังถ้ำ หินกระเทาะ
2). สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
2. หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้ แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ยุค ประกอบด้วย
1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
- ยุคหินเก่า มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ ใช้เครื่องมือหินที่ทำแบบหยาบๆ รู้จักเขียนภาพตามผนังถ้ำ
- ยุคหินกลาง มนุษย์ดำรงชีวิตเหมือนยุคหินเก่า รู้จักทำเครื่องมือหินที่ประณีต มากขึ้น รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะผิวเรียบมัน
- ยุคหินใหม่ มนุษย์ยุคนี้ดำรงชีวิตโดยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตั้งหลักแหล่งถาวร ทำเครื่องมือหินขัด ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องประดับ
2) ยุคโลหะ ครอบคลุมช่วงเวลาประมาณ 4,000 ปี - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งย่อย ออกเป็นยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก คือ ยึดถือเอาชนิดของโลหะที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเกณฑ์ การแบ่ง
- ยุคสำริด มนุษย์อาศัยอยู่เป็นชุมชนใหญ่ขึ้น ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก รู้จัก ปลูกข้าว มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว หมู ชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่ายุคหินใหม่ รู้จักทำสำริดเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับ
- ยุคเหล็ก การดำรงชีวิตเจริญและซับซ้อนกว่ายุคสำริด มีการติดต่อค้าขายกับ อารยธรรมต่างแดน ทำให้ผู้คนมีความเจริญแตกต่างกัน มีการนำเหล็กมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ซึ่งมีความคงทนกว่าสำริด ใช้งานได้ดีกว่า แบบที่สอง ให้ความสำคัญในเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
2.1) ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2.2) ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยง สัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
2.3) ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
· สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ เป็นต้น
· สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ แล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ จะมีการใช้หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ปูมโหร พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น และ หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน เมืองโบราณ วัด เป็นต้น และโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจน ยิ่งขึ้น
1.2 หลักเกณฑ์การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นักวิชาการมีหลักในการแบ่งยุค ดังนี้
แบบที่หนึ่ง ให้ความสำคัญในเรื่องของเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยถือว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อพัฒนาการของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค ประกอบด้วย
1. ยุคหิน ซึ่งจำแนกออกเป็นยุคหินเก่า หินกลาง หินใหม่ มีอายุประมาณ 500,000 - 4,000 ปีล่วงมาแล้ว
2. ยุคสำริด มีอายุประมาณ 4,000 - 2500 ปีล่วงมาแล้ว
3. ยุคเหล็ก มีอายุระหว่าง 2,500 - 1,500 ปีล่วงมาแล้ว
แบบที่สอง ให้ความสำคัญเรื่องแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คน แบ่งออกได้ 3 ยุค ดังนี้
1. ยุคชุมชนล่าสัตว์ หรือเรียกว่า ยุคชุมชนหาของป่า ยุคนี้จะครอบคลุมช่วงเวลา ประมาณ 500,000 ปี - 6,000 ปีล่วงมาแล้ว
2. ยุคหมู่บ้านเกษตรกรรม เป็นช่วงที่มนุษย์รู้จักการดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ สังคมยุคนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปี - 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
3. ยุคสังคมเมือง เป็นช่วงที่ชุมชนพัฒนาเป็นสังคมเมือง มีลักษณะเป็นเมืองเล็กๆ สังคมแบบนี้จะถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 2,500 ปีล่วงมาแล้ว
ประเภทของยุค
แบ่งตามเทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้
ช่วงระยะเวลาโดยประมาณ
แบ่งตามแบบแผนการดำรงชีวิต
หินเก่า
500,000 - 10,000 ปีมาแล้ว

ยุคหิน
หินกลาง
10,000 - 6,000 ปีมาแล้ว
ชุมชนล่าสัตว์

หินใหม่
6,000 - 4,000 ปีมาแล้ว

ยุคโลหะ
สำริด
4,000 - 2,500 ปีมาแล้ว
หมู่บ้านเกษตรกรรม

เหล็ก
2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว
สังคมเมือง


การนับศักราช
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปี การคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี มหาศักราช (ม.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1 วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.) วิธีการเทียบศักราช เช่น การคิดเทียบหา พ.ศ. พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543 พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621 พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181 พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

หน่วยที่ 3 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงธนบุรี
หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ 4 ” (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ครองกรุงธนบุรีอยู่ 15 ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร)
สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้1.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณ์ให้ดีเหมือนเดิมได้ กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้ 2.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย 3.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี
ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรกด้านการปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 บ้านเมืองอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย มีการปล้นสะดมกันบ่อย ผู้คนจึงหาผู้คุ้มครองโดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่าชุมนุม ชุมนุมใหญ่ ๆ ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุนนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช เป็นต้น สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาภายใน 3 ปี ยกกองทัพไปปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นอิสระจนหมดสิ้นสำหรับระเบียบการปกครองนั้น พระองค์ทรงยืดถือและปฏิบัติตามระเบียบการปกครองแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายตามทที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางระเบียบไว้ แต่รัดกุมและมีความเด็ดขาดกว่า คนไทยในสมัยนั้นจึงนิยมรับราชการทหาร เพราะถ้าผู้ใดมีความดีความชอบ ก็จะได้รับการปูนบำเหน็จอย่างรวดเร็วด้านเศรษฐกิจ ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสิ นมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้นบ้านเมืองดำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด เกิดการขาดแคลนข้าวปลาอาหาร และเกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งวิงอาหาร มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอีก ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีกถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทรงสละทรัพย์ส่วนพระองค์ ชื้อข้าวสารมาแจกจ่ายแก่ราษฎรหรือขายในราคาถูก พร้อมกับมีการส่งเสริมให้มีการทำนาปีละ2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอ
การสิ้นสุดอำนาจทางการเมืองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื่องจากพระองค์ทรงตรากตรำ ทำงานหนักในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชาติบ้านเมือง พระราชพงศาวดารฉบับต่าง ๆ ได้ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระสติฟั่นเฟือน ทำให้บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสายและได้เกิดกบฏขึ้นที่กรุงเก่า พวกกบฏได้ทำการปล้นจวนพระยาอินทรอภัยผู้รักษากรุงเก่าจนต้องหลบหนีมายังกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้พระยาสรรค์ไปสืบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้าด้วยกับพวกกบฏ และคุมกำลังมาตีกรุงธนบุรี แล้วจับตัวสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาคุมขังเอาไว้ การจราจลในกรุงธนบุรี ทำให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกต้องรีบยกทัพกลับจากเขมร เพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ในกรุงธนบุรี และจับกุมผู้ก่อการกบฏมาลงโทษรวมทั่งให้ข้าราชการปรึกษาพิจารณาความที่มีผู้ฟ้องร้องกล่าวโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในฐานะที่ทรงเป็นต้นเหตุแห่งความยุ่งยากในกรุงธนบุรีและมีความเห็นให้สำเร็จโทษพระองค์เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากอีกต่อไป สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงถูกสำเร็จโทษและเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2325 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
หน่วยที่ 4 ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 1-3)
หลังจากปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในปี พ.ศ. 2325 แล้ว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงใช้พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และได้ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรีข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งตรงข้าม และตั้งชื่อราชธานีใหม่นี้ว่า กรุงเทพมหานคร พร้อมๆกับการสถาปนาราชวงศ์จักรีขึ้นมา
พระองค์ทรงฟื้นฟูขวัญกำลังใจให้กับประชาชนที่ยังหวาดผวากับศึกพม่าเมื่อครั้ง สงคราวเสียกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งตลอดสมัยกรุงธนบุรี ด้วยการนำแบบแผนต่างๆของ ราชสำนักอยุยามาใช้ รวมทั้งอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญมาไว้ที่กรุงเทพฯด้วย วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว เป็นแบบอย่างชัดเจนที่พระองค์ ทรงระดมช่างฝีมือซึ่งหลงเหลืออยู่ในเวลานั้นมาสร้างพระราชวังและพระอาราม ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ เสมือนยกเอายุครุ่งเรืองของกรุงศรีอยุธยามาไว้ยังกรุงเทพฯ
ในช่วงก่อร่างสร้างเมืองนี้สยามยังต้องผจญกับศึกสงครามรอบบ้านอยู่เสมอ รวมทั้งสงครามครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การรบระหว่างสยามกับพม่าด้วย นั่นคือศึกที่เรียกว่าสงครามเก้าทัพ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าประดุง แห่งหงสาวดี กองทัพสยามสามารถขับไล่ทัพพม่าออกไปได้ในที่สุด หลังสงครามเก้าทัพพม่าต้องเผชิญหน้ากับประเทศนักล่าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ทำให้สยามว่างเว้นศึกสงครามใหญ่ไปนาน
รัชกาลที่1 มีพระราชดำริให้ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมครั้งใหญ่ รวมทั้งการรวบรวทตำรับตำราจากหัวเมืองต่างๆ ที่รอดพ้นจากการถูกพม่าเผาเมื่อ ปี พ.ศ.2310 มาเก็บไว้ที่กรุงเทพฯ
ในสมัยของพระองค์ได้มีการนำธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักอยุธยามาใช้อย่างหนึ่งคือ มีการแต่งตั้งตำแหน่งอุปราชเสมือนเป็นกษัตริย์องค์ที่2 อุปราชองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์คือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งประทับอยู่ที่วังหน้า คนสยามจึงมักเรียกตำแหน่งอุปราชว่า วังหน้า
ด้านกฎหมาย มีการชำระกฎหมายขึ้นมาใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง ได้แก่ ตราราชสีห์ คชสีห์ และตราบัวแก้ว
รัชกาลที่ 2 ยุคทองของศิลปรัตนโกสินทร์ :พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ. 2352-2367) พระราชโอรสองค์ โตได้ครองราชสมบัติสืบมาเป็นรัชกาลที่2 พระองค์ทรงใฝ่พระทัยในศิลปวัฒนธรรมมาก ทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และวรรณคดี พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ผู้เป็นอัครศิลปิน ทรงสร้างและบูรณะวัดวาอารามจำนานมาก ที่สำคัญที่สุดคือโปรดเกล้าฯให้บูรณะ วัดสลักใกล้พระราชวังเดิมฝั่งธนบุรี จนยิ่งใหญ่สวยสง่ากลายเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์และพระราชทานนามว่า วัดอรุณราชวรารามมหาวิหาร
ความเป็นศิลปินเอกของพระองค์เห็นได้จากการที่พระองค์ทรงแกะสลักบานประตู หน้าวัดสุทัศน์ฯด้วยพระองค์เอง ผลงานอันวิจิตรชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงเทพฯ นอกจากฝีพระหัตถ์เชิงช่างแล้ว รัชกาลที่2ยังทรงพรัอัจฉริยภาพในทางกวีด้วย พระราชนิพนธ์ชิ้นสำคัญของพระองค์ บทละครเรื่อง อิเหนา และ รามเกียรติ์
นอกจากทรงพระราชนิพนธ์ด้วยพระองค์เองแล้ว ยังได้ชื่อว่าเป็นองค์อุปถัมภ์ บรรดาศิลปินและกวีด้วย ยุคนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นยุคสมัยที่กวีรุ่งเรืองที่สุด กวีเอกที่ปรากฏในรัชกาลของพระองค์คือ พระศรีสุนทรโวหาร(ภู่) ที่คนไทย ทั่วๆไปเรียกว่า สุนทรภู่
ในด้านการต่างประเทศ พระองค์ทรงได้เริ่มฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก ใหม่หลังจากหยุดชะงักไปตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมีพระบรมราชานุญาตให้โปรตุเกตุเข้ามาตั้งสถานฑูตได้เป็นชาติแรก

รัชกาลที่ 3 ยุคทองแห่งการค้า : กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ครอง ครองราชสมบัติต่อจากพระบิดา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2367-2394) ทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้า ขายกับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในรัฐสมัยของพระ องค์ ราชสำนักสยามและจีนมีสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สยามแต่ง สำเภาเดินทางไปค้าขายกับจีนปีละมากลำ ยุคสมัยของพระองค์นับ เป็นยุคทองของการค้าขาย ทรงทำให้เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่งขึ้น เงินทองเต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ใน ถุ้งแดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งในเวลาต่อมาทรัพย์ในถุงแดงนี้มีส่วน ในการกู้ชาติสยาม
รัชกาลที่ 3 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงเคร่งครัดในศาสนาพุทธ ชาว ตะวันตกมักมองว่าพระองค์ ตึงและต่อต้าน ศาสนาอื่น แม้กระนั้นก็ ทรงอนุญาตให้มิชชั่นนารีจากอเมริกานำการแพทย์แผนตะวันตกเข้า มาเผยแพร่ได้
การเปิดประเทศในรัชกาลที่ 4 : ความจริงในสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศสยามต้องรับบรรดาทูตต่างๆจากชาติตะวันตกที่เข้ามาทำ สัญญาทางการค้าบ้างแล้ว โดยเฉพาะการมาถึงของ เซอร์จอห์น เบาริ่ ง จากอังกฤษที่เข้ามาทำ สนธิสัญญาเบาริ่ง อันส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อง้า ประเทศสยามในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามผลจากการเปิดประเทศมา ปรากฏอย่างเด่นชัดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงสนพระทัยในศิลปวิทยาการของตะวันตกมาก พระ องค์ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างแตกฉาน ทรงเข้าใจภาษาบาลีเป็น อย่างดีตั้งแต่ครั้งที่ออกผนวชเป็นเวลาถึง 27 พรรษาก่อนทรงขึ้นครอง ราชย์ ส่วนภาษาอังกฤษนั้นทรงได้เรียนกับมิชชันนารีจนสามารถตรัส ได้เป็นอย่างดี นกจากนี้ยังมีความรู้ในวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆโดย เฉพาะดาราศาสตร์
ในยุคสมัยของพระองค์ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนักได้ เปลี่ยนไปมาก เช่น การแต่งกายเข้าเฝ้าของขุนนาง ทรงให้สวมเสื้อผ้า แบบตะวันตกแทนที่จะเปลือยท่อนบนเช่นสมัยก่อน หรือยกเลิก ประเพณีหมอบคลาน เป็นต้น
ส่วนในด้านการศาสนานั้นทรงตั้งนิกาย นิกายธรรมยุติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการรวมอำนาจของคณะสงฆ์ซึ่งเคยกระจัดกระจาย ทั่วประเทศให้เขามาอยู่ที่ส่วนกลาง พระองค์นับว่าทรงเป็นกษัตริย์ผู้มี วิสัยทัศน์ยาวไกล และทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมของ ประเทศตะวันตกซึ่งในเวลานั้นเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านของ สยามจนหมดสิ้นแล้ว พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ความเข้มแข็งแบบ ตะวันออกของสยามไม่สามารถช่วยให้ประเทศรอดพ้นจากการตกเป็น อาณานิคมได้ จึงทรงเน้นให้ประเทศสยามพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อลด ความขัดแย้งกับชาติตวันตก
ยุคสมัยนี้กล่าวได้ว่าประเทศสยามเริ่มหันทิศทางไปสู่ตะวัน ตกแทนที่จะแข็งขืนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งถึงที่สุดแล้วก็ไม่อาจสู้ ความได้เปรยบทางเทคโนโลยีของชาติตะวันตกได้ ในราชสำนักทรง จ้างครูฝรั่งมาสอนภาษาให้แก่พระราชโอรสและพระราชะดา ส่วนภาย นอกมีชาวต่างประเทศจำนวนมากที่มาประกอบกิจการในมืองสยาม สมัยนี้มีหนังสือพิมพ์ภาษาไทยออกมาเป็นครั้งแรก นั่นคือ บางกอกรี คอดเดอร์ ของหมอบัดเลย
การทำสนธิสัญญาทางการค้ากับประเทศตะวันตกทำให้ สยามต้องสูญเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขต อังกฤษเป็นชาติแรกๆที่ ได้ประโยชน์สยามสามารถเก็บภาษีจากสินค้าของพ่อค้าอังกฤษได้ เพียงร้อยละ 3 และอังกฤษสามารถนำเข้าฝิ่นจากอินเดียได้โดยเสรี รวมทั้งสัญญาระบุให้สยามยกเบิกการผูกขาดการค้าข้าวโดยราช สำนัก ทำให้ข้าวกลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของสยามมานับศตวรรษ ต่อมาสยามก็ต้องทำสัญญาเช่นนี้กับชาติตะวันตกอื่นๆอีก ความสนใจในวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์เป็น เหตุให้พระองค์ต้องสวรรคต ในปี พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณได้ว่าจะเกิด
สุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเสด็จฯไปดู พร้อมกับเชิญคณะทูตานุทูตตามเสด็จไปชมด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำ ให้พระองค์ได้รับการยกย่องจากชาวตะวันตกมาก เพราะในเวลานั้น แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ชาติตะวันตกก็มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถคำนวณ การกิดสุรุยุปราคาได้อย่างแม่นยำ แต่กการเสด็จฯไปหว้ากอครั้งนั้น เป็นเหตุให้พระองค์ประชวรด้วยไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในอีก สองสัปดาห์ต่อมา
การปฏิรูปในสมัยรัชกลที่ 5 : เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรส ของรัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ด้วยพระชนมายุเพียง 15 ชันษา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ใน ยุคสมัยที่บ้านเมืองจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และทรงต้องเผชิญกับการ กดดันจากหลายด้าน ทั้งฐานอำนาจของกลุ่มวังหน้าและฝ่ายขุนนางที่ นำโดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระ องค์ ในขณะที่แรงกดดันจากประเทศนักล่าอาณานิคมก็มิได้ลดละ แต่ โชคดีที่พระองค์รวมทั้งพระประยูรญาติได้รับการปูพื้นฐานมาเป็น อย่างดี ในสมัยของพระองค์บรรดาขุนนางต่างพระเนตรพระกรรณที่ พระองค์มีพระบรมราชโองการอยู่เสมอก็คือพระอนุชาของพระองค์ เป็นส่วนใหญ่ ขุนนางซึ่งมีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้ก็คือ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ กรมพระยาเทววงศ์วโรปกรณ์ กรมหลวงประจักษ์ ศิลปคม เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นพระอนุชาของพระองค์ทั้งสิ้น ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประเทศสยาม พระองค์ถือเป็นกษัตริย์ที่ทรงปฏิรูปสังคมครั้งใหญ่ ทรงยกเลิกระบบ ทาสและการเกณฑ์แรงงานไพร่ หันมาใช้ระบบเก็บส่วนภาษีแทน ทรง ปฏิรูประบบการปกครองส่วนภูมิภาคด้วยการยกเลิกระบบประเทศราช และเจ้าครองนครเปลี่ยนผู้บริหารเป็นสมุหเทศาภิบาลซึ่งเป็นข้าราช การที่ส่งไปจากส่วนกลาง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ประเทศสยาม เป็นปึกแผ่นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนนับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ การเตรียมพร้อมของพระองค์ต่อการคุกคามโดยประเทศ ตะวันตกนั้น ทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษา ณ ดินแดนยุโรป โดยเฉพาะ ในประเทศรัสเซียและปรัสเซีย ทั้งเพื่อเตรียมคนไว้เพื่ออนาคต และเป็น การผูกสัมพันธ์กับราชสำนักยุโรปเพื่อถ่วงดุลอำนาจของอังกฤษและ ฝรั่งเศสที่ในเวลานั้นกำลังล่าอาณานิคมในภูมิภาคเอเซียอยู่

ในปี พ.ศ. 2435 ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 12 กระทรวง บางกระทรวงก็ทรงแต่งตั้งพระอนุชาเป็นเสนาบดี บาง กระทรวงที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศก็ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาว ตะวันตกเป็นเสนาบดี รัชสมัยของพระองค์มีชาวตะวันตกเข้ามารับใช้ ประเทศสยามจำนวนมาก หลายท่านยังคงมีลูกหลานสืบสกุลในเมือง ไทยจนปัจจุบัน ครั้นพระราชโอรสของพระองค์สำเร็จการศึกษาจากยุ โรปแล้วก็ได้เข้ามาเป็นกำลังในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารครั้ง ใหญ่ โดยเฉพาะเป็นกำลังในการสร้างกองทัพบกและกองทัพเรือให้มี ความทันสมัยอย่างตะวันตก
ในสมัยนี้ประเทศสยามต้องเผชิญกับการบีบคั้นโดยชาติ มหาอำนาจอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้สยามจำต้องเสียดินแดน ให้แก่มหาอำนาจทั้งสองไปเป็นจำนวนมากเพื่อแลกกกับเอกราชของ ประเทศ
เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองเวียดนามในปี พ.ศ. 2426 และ อังกฤษยึดครองมลายูและพม่าส่วนบนได้ในปี พ.ศ. 2429 ทำให้สยาม ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก ต่อมาฝรั่งเศสส่งเรือรบมาปิดล้อมอ่าว ไทย ทำให้ต้องยอมเสียลาวและกัมพูชาให้ฝรั่งเศสไป ขณะเดียวกันก็ ต้องยำดินแดนทางภาคใต้ได้แก่ ปะลิส กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ดิน แดน ติดพม่าได้แก่ มะริด ทวาย ตะนาวศรี และดินแดนหัวเมืองเงี้ยว ในภาคเหนือให้แก่ประเทศอังกฤษ รวมแล้วสยามต้องเสียดินแดนให้ มหาอำนาจทั้งสองถึง 120,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่ง หนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน
นอกจากต้องเสียดินแดนแล้วยังต้องจ่ายค่าปรับให้กับ ประเทศเหล่านั้นด้วย จึงต้องใช้เงินใน ถุงแดง ซึ่งรัชกาลที่ 3 เก็บซุก ซ่อนไว้นำมาจ่ายให้มหาอำนาจเหล่านั้น รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2450 เพื่อเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับราชสำนักต่างๆในยุ โรปให้แน่นแฟ้นขึ้น
ในรัชสมัยของพระองค์กล่าวได้ว่าสยามประเทศมีการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด แม้จะต้องเสียเงินทองมากมายให้แก่มหาอำนาจ แต่เศรษฐกิจของสยามก็เฟื่องฟูโดยเฉพาะหากเทียบกับประเทศเอเซีย อื่นๆ หลังจากพระองค์เสด็จสวรรคต ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกัน ถวายพระสมัญนามแด่พระองค์ว่า พระปิยมหาราช ซึ่งหมายถึง กษัตริย์ทรงเป็นที่รักยิ่ง
รัชกาลที่ 6 เผชิญคลื่นลมแห่งการเปลี่ยนแปลง : เจ้ามหา วชิราวุธ โอรสของรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2453-2468) พระองค์ ทรงจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดในประเทศอังกฤษ นโยบายปฏิรูปแบบตะวันตกส่งผลต่อสังคมไทยอย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างแรกในปี พ.ศ. 2456 คือคนไทยต้องมี นามสกุลใช้ ในอดีตคนไทยใช้เพียงชื่อตัวไม่มีนามสกุล ซึ่งพระองค์มี พระราชดำริว่าไม่ทันสมัยอย่างชาวตะวันตก พระองค์จึงทรงพระราช ทานนามสกุลให้แก่ขุนนาและคหบดีกว่าร้อยสกุล รวมถึงการถวาย พระนามต้นแห่งกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีว่า รามา ก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ พระองค์ยังทรงยกเลิกธรรมเนียมให้ผู้หญิงไทยไว้ผมสั้นทรง ดอกกระมอย่างโบราณ และหันมาไว้ผมยาวแบบฝรั่ง และให้นุ่งผ้าถุง แทนโจงกระเบน ทรงจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับทั่วประเทศ มีการตั้ง จุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ในช่วง ท้ายของสงครามพระองค์ได้ส่งทหารไทยไปร่วมรบ ณ สมรภูมิยุโรป ด้วย นั่นทำให้ประเทศสยามได้รับการต้อนรับให้เข้าร่วมสันนิบาติชาติ ภายหลังสงคราม และภายหลังจากทหารอาสาชาวไทยกลับจาก สงคราม พระองค์ทรงเปลี่ยนธงชาติจากธงช้างเผือกบนพื้นแดงมาเป็น ธงไตรรงค์แบบปัจจุบันแทน
ในรัชสมัยนี้มีการแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์และขุนนางใกล้ชิด ให้เป็นคณะรัฐมนตรีร่วมปรึกษาใกล้ชิดกับพระองค์ในการบริหาร ประเทศ และมีการตั้ง กองเสือป่า ขึ้นมาโดยมีพระองค์เองเป็นผู้ บัญชาการ กองเสือป่าที่ตั้งขึ้นมีลักษณะซ้ำซ้อนกับกองทัพ และหลาย ครั้งเสือป่าของพระองค์มีเรื่องมีราวกับทหารในกองทัพ ปมขัดแย้งเริ่ม เกิดขึ้นในหมู่ทหารจำนวนหนึ่ง กระทั่งประทุเป็นการก่อกบฎใน ร.ศ. 130 ที่เรียกว่า กบฏนายสิบ
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดการละครมาก ในราชสำนักสมัยนั้นมีการ เล่นละครกันอยู่เป็นประจำ และไม่ว่าจะเสด็จแปรพระราชฐานไปที่ใด ก็มักจะนำคณะละครของพระองค์โดยเสด็จไปด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามพระองค์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่โปรดการ สร้างถาวรวัตถุ ได้ทรงสร้างพระตำหนักและพระราชวังไว้ตามจังหวัด ต่างๆเป็นจำนวนมาก อาทิ พระตำหนักดุสินธานี ที่กรุงเทพฯ พระราช วังสนามจันทร์ ที่นครปฐม พระราชวังบ้านปืน และพระราชนิเวศน์ มฤคทายวัน ที่เพชรบุรี เป็นต้น ผลจากการสร้างสิ่งเหล่านี้ทำให้เงินใน ท้องพระคลังที่สะสมมาสมัยรัชกาลที่ 5 ร่อยหรอลง จนเกิดปัญหาการ ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วงปลายรัชกาล
รัชกาลที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสเมื่อพระชนม์มายุมากแล้ว พระ ราชธิดาพระองค์เดียวประสูติก่อนวันเสด็จสวรรคตของพระองค์เพียง แค่วันเดียวในปี พ.ศ. 2468 พระอนุชาของพระองค์คือ เจ้าประชาธิปก ทรงขึ้นคอรงราชย์ต่อ
แบบทดสอบหลังเรียน http://quickr.me/zPZR6nh